ระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ(SI) คือ อะไร
ระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ หรือ SI คือระบบการวัดแบบเมตริกสมัยใหม่ ย่อมาจากคำว่า System International d” Unites หรือ International System of Unit ซึ่งแปลมาจากภาษาฝรั่งเศล Le Systéme International ď Unités เป็นระบบการวัดทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมาช้านานและปัจจุบันก็มีที่ใช้ในทางการค้าระหว่างประเทศทั่วโลกและประเทศส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้นิยามหน่วยการวัดอื่นใดนอกเหนือไปจากระบบ SI อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบางประเทศที่ยังไม่ใช้หน่วยการระบบ SI อย่าง เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ยังใช้หน่วยการวัดแบบอังกฤษดั้งเดิม (Customary, English, Imperial, American Unit) อยู่ เช่น หน่วย ฟุต ไมล์ ฟาเรนไฮต์ ปอนด์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระบบหน่วยการวัดก็เพิ่มมากขึ้นในวงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ รัฐบาล และหลายหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรม
ความเป็นมาของระบบหน่วยการวัดระหว่างประเทศ (SI)
ระบบเมตริกได้ถือกำเนิดขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง (ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ Antoine –Laurant Lavoisier ซึ่ง เป็นที่รู้จักในนาม “บิดาแห่งเคมีสมัยใหม่” ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์หลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศส) เพื่อทำให้ระบบการวัดมีมาตรฐานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และระบบเมตริกถูกประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1799 หลังจากนั้นระบบเมตริกก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามพบว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบของการวัดทั่วโลกยังคงมีหลากหลายรูปแบบ บางระบบก็เป็นแบบเมตริก บ้างก็เป็นแบบดั้งเดิมของประเทศนั้น ๆ อยู่ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีระบบการวัดที่ใช้อย่างเป็นสากล การประชุมทั่วไปว่าด้วยการชั่ง ตวง วัด ครั้งที่ 9 [9thGeneral Conference on Weights and Measures (CGPM)] ในปี ค.ศ. 1948 จึงมอบหมายให้คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการชั่งตวงวัด [Comit International des Poids et Measures (CIPM)] ทำการศึกษาการวัดที่จำเป็นในด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคนิค และในวงการวิชาการ และผลสืบเนื่องมาจากการศึกษานี้ ในการประชุม CGPM ครั้ง ที่ 10 ในปี ค.ศ. 1954 ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าระบบหน่วยการวัดสากลน่าจะมีทั้งหมด 6 หน่วย เพื่อให้ครอบคลุมการวัดทางด้านอุณหภูมิและการแผ่รังสีเชิงแสง (Optical Radiation) นอกเหนือไปจากปริมาณเชิงกลและทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม หน่วยทั้ง 6 ได้แก่ เมตร (metre) กิโลกรัม (kilogram) วินาที (Second) แอมแปร์ (ampere) เคลวิน (kelvin) และ แคนเดลา (candela) และในปี ค.ศ. 1960 จากการประชุม CGPM ครั้งที่ 11 หน่วยทั้ง 6 ได้รับการสถาปนาให้เป็น “ระบบหน่วยการวัดะรหว่างประเทศ” หรือที่เรียกว่า “SI” และ ในปี ค.ศ. 1971 ในการประชุม CGPM ครั้งที่ 14 ได้เพิ่มหน่วยวัดที่ 7 คือ โมล (mole) เข้าไปในหน่วยฐานเอสไอ (SI base unit)
ครับในบทความนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้นะครับแล้วคราวหน้าจะมาพูดถึงหน่วยฐานเอสไอ (SI base unit) กันต่อไป
ที่มาของข้อมูล
www.cib-buu.com