จากบทความทั้ง 2 ตอน ที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าหน่วยการวัดระหว่างประเทศ (SI) นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดหน่วยวัดที่เป็นสากลทำให้ทุกคนทั่วโลกสามารถสื่อสารเรื่องหน่วยการวัดได้โดยมีความเข้าใจตรงกัน ดังนั้น สำหรับในบทความนี้จะขออธิบายต่อจากตอนที่แล้วเพื่อขยายความในเรื่องของหน่วยฐานเอสไอ (SI base unit) ต่อไป
หน่วยฐานเอสไอ (SI base unit)
หน่วยฐานเอสไอ (SI base unit) เป็นหน่วยที่ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดไว้เป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 หน่วย ได้แก่
ปริมาณฐาน (Base Quantites) |
ชื่อหน่วย |
สัญญลักษณ์ (Symbol) |
ความยาว (Length) |
เมตร |
m |
มวล (Mass) |
กิโลกรัม |
kg |
เวลา (Time) |
วินาที |
s |
กระแสไฟฟ้า (Electric Current) |
แอมแปร์ |
A |
อุณหภูมิอุณหพลวัติ (Thermidynamic Temperature) |
เคลวิน |
K |
ปริมาณของสาร (Amount of Substance) |
โมล |
mol |
ความเข้มของการส่องสว่าง (Luminous Intersity) |
แคนเดลา |
cd |
สำหรับนิยามและการทำให้เป็นจริงของหน่วยฐานเอสไอแต่ละหน่วยได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตามความก้าวหน้าของงานวิจัยเชิงมาตรวิทยาซึ่งได้ค้นพบความเป็นไปได้ที่จะทำให้ได้มาซึ่งนิยามและการทำให้เป็นจริงที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น
นิยามของแต่ละหน่วยของหน่วยฐานเอสไอ (SI base unit definition)
3. เวลา (Time)หน่วย SI ของเวลามีหน่วยเป็นวินาที second (s) ซึ่งจำกัดความว่า 1 วินาทีคือ ระยะเวลาเทียบเท่า 9 192 631 770 เท่า
ของคาบของคลื่นการแผ่รังสีที่เกิดจากการเปลี่ยนระดับชั้นพลังงานไฮเปอร์ไฟน์สองระดับของอะตอมของธาตุซีเซียม-133 (caesium-133) ซึ่งอยู่ที่สถานะพื้น (ground state)
หน่วยฐานเอสไอ (SI base unit definition) ทั้ง 7 หน่วย จะขอกล่าวโดยแบ่งออกเป็นทีละหน่วยเกี่ยวกับในเรื่องของการเชื่อมโยงเปลี่ยนแปลงหน่วยการวัดจากหน่วยหนึ่งไปอีกหน่วยหนึ่ง (เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวติประจำวันได้ แตกต่างจากบทความที่ 1 2 และ 3 ที่เป็นเพียงบทความที่นำมาเสนอเพื่อเป็นพื้นฐานและให้ทราบถึวความสำคัญของหน่วยวัดเท่านั้น และในที่นี้ขออนุญาติไม่อธิบายต่อเนื่องจากผู้เขียนไม่ได้ศึกษาลงลึกไปอีก แต่ถ้าท่านใดสนใจสามารถตามไปอ่านต่อได้ตามเว็บไซด์ที่อยู่ใต้บทความนี้) ให้ทราบในบทความต่อไป
ปล.ตอนนี้ขอไปเก็บข้อมูลก่อน แล้วท้ายนี้ถ้าอะไรผิดพลาดประการใดสามารถแนะนำติดชมได้
ขอบคุณ
ที่มาของข้อมูล
www.cib-buu.com