โพลีเอทิลีน (Polyethylene : PE)

โพลีเอทิลีน (Polyethylene, PE) เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสารตั้งต้นเอทิลีน (ผลผลิตจากปิโตรเลียม) มี 2 ชนิดคือ ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE)  และชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ชนิดความหนาแน่นสูงจะหนาแน่นกว่าและแข็งกว่าชนิดหนาแน่นต่ำ โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1942 และถูกนำมาใช้ในกิจการในสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยใช้เคลือบสายเคเบิลใต้น้ำและต่อมาใช้เป็นวัสดุฉนวนสำหรับเครื่องมือ อุปกรณ์ทางทหารที่สำคัญ เช่น เรดาร์

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโพลีเอทิลีนมีอะไรบ้าง
ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) : ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกชนิดนี้มีมากมาย ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีคือ ถุงพลาสติกที่เรียกว่า ถุงก๊อบแก๊บ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร แผ่นเคลือบบอร์ดกระดาษ เคลือบสายเคเบิล และของเล่นเด็ก เป็นต้น
ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) : เนื่องจากเป็นพลาสติกที่ทนทานต่อสารทำละลายต่างๆ ทำให้มีการนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์จำนวนมาก เช่น ภาชนะบรรจุต่าง ๆ (เช่น ทัปเปอร์แวร์ ขวดน้ำยาซักผ้า ขวดนม ถังน้ำมันสำหรับยานพาหนะ) โต๊ะและเก้าอี้แบบพับได้ ถุงพลาสติก ภาชนะใส่สารเคมีบางชนิด ท่อทนสารเคมี ท่อที่ใช้ในระบบแลกเปลี่ยนความร้อน ท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ และท่อน้ำ เป็นต้น

สารพิษที่ระบายออกสู่บรรยากาศในกระบวนการผลิตและรีไซเคิลโพลีเอทิลีน
สารเคมีอันตรายจำนวนมากถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตโพลีเอทิลีน ได้แก่ เบนซีน โครเมียมออกไซด์ คิวมีนไฮเปอร์ออกไซด์ เทอร์-บิวทิล โฮโดรเพอร์ออกไซด์ และเอทิลีน ซึ่งสารตั้งต้นตัวสำคัญ ได้แก่
– เบนซีน ใช้เป็นสารทำละลายในการผลิตโพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ การสูดดมเบนซีนมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง และอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ และคลื่นไส้ เป็นต้น
– บิวทิล โฮโดรเพอร์ออกไซด์ ใช้เป็นสารที่ทำให้โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำชนิดสายเป็นเส้นตรงเกิดการจับ ตัวเป็นโพลีเมอร์ การได้รับสัมผัสสารนี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นได้เช่น เกิดลักษณะไหม้ที่ผิว ไอ จาม หายในสั้น ปวดหัว คลื่นไส้ และอาเจียน  และมีผลการทดลองในสัตว์ที่ชี้บ่งว่าสารนี้ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์
– คิวมีนไฮโดรเพอร์ออกไซด์ ใช้ในกระบวนการจับตัวเป็นโพลีเมอร์ของโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ สารนี้จะแสดงอันตรายเฉียบพลันหากกลืนกินเข้าไป หายใจเข้าไป หรือซึมผ่านผิวหนัง
– โครเมียม (6) ออกไซด์ ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการจับตัวเป็นโพลีเมอร์ของโพลีเอทิลีนทั้ง ชนิดความหนาแน่นสูงและต่ำ สารนี้มีผลการทดลองในสัตว์ที่บ่งบอกว่าเกี่ยวข้องกับการก่อมะเร็งและก่อการ กลายพันธุ์ การทำงานกับสารนี้เป็นเวลานานส่งผลต่อตับและระบบประสาทอย่างรุนแรง

ผลกระทบต่อสุขภาพของโพลีเอทิลีนของผู้บริโภค
ผู้ที่ใช้ถุงพลาสติกที่เป็นสีต่าง ๆ อาจได้รับอันตรายจากเม็ดสีที่เติมเข้าไป ซึ่งมีส่วนผสมของตะกั่วและแคดเมียม สารทั้งสองตัวนี้สามารถแพร่ออกมาจากพลาสติกได้ และหากสัมผัสกับสารเหล่านี้อาจเกิดอันตรายได้ ในกรณีตะกั่วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง หมดสติ ทางเดินหายใจขัดข้อง หัวใจวาย หรืออาจตายได้ ส่วนแคดเมียมมีผลทำลายเซลและเนื้อเยื่อของไตทำให้เกิดภาวะไตอักเสบรุนแรง

ข้อควรระวัง
การเผาโพลีเอทิลีนก่อให้เกิดสารอะซิทัลดีไฮด์และฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งทั้งสองสารนี้ต้องสงสัยว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง

ถิติที่น่าสนใจ
นกทะเลและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต้องตายจากการกินถุงพลาสติกปีละประมาณ 1 พันล้านตัว

ที่มาของข้อมูล
http://www.chemtrack.org